ความเป็นมาของโครงการ
จากการประเมินผลนานาของโครงการ PISA พบว่า
ความรู้และทักษะทางวิทยาศาสตร์ของเด็กไทย ยังอยู่ในระดับต่ำกว่าค่าเฉลี่ย
อีกทั้งยังขาดแคลนนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรที่จะร่วมมือขับเคลื่อนและพัฒนาประเทศ
งานวิจัยยืนยันว่า เราควรสร้างทัศนคติที่ดีด้านการเรียนรู้ทักษะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กตั้งแต่ระดับปฐมวัย (อายุ 3-6 ปี)
เพราะเป็นช่วงอายุที่มีความสามารถในการเรียนรู้และจดจำมากที่สุด
ด้วยเหตุนี้มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จึงริเริ่ม โครงการ "บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย "
โดยความร่วมมือของ บริษัท นานมี บุ๊คส์ จำกัด และ สถาบันส่งเสริมการสอน วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี
เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนา การเรียนการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ โดยได้ศึกษา โครงการต้นแบบ จากประเทศเยอรมันนี
คือ "มูลนิธิ Haus der kleinen Forscher " ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างภาครัฐ และเอกชน ที่สามารถ ปลูกฝังนิสัย
รักวิทยาศาสตร์ ให้กับเด็ก และขยายผล ได้อย่าง มีประสิทธิภาพ
และได้นำไปใช้ในโรงเรียน อนุบาลมากกว่า 10,000 แห่ง
โรงเรียนอนุบาลเลิศวินิต ได้เข้าร่วม โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ในปี พ.ศ. 2554 และผ่านการประเมิน โครงการจนได้รับ เกียรติบัตร และ
ตราพระราชทาน เป็น " บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย " ใน ปี 2556 ซึ่งแสดง ถึงความสำเร็จ ในการดำเนินงานของโรงเรียน
ด้วยหลักการ และวิธีการสอน แบบสืบสวน สอบสวน ที่เน้น ให้เด็กๆ เป็น ผู้ได้ปฎิบัติเอง สังเกต ตั้งข้อสมมุติฐาน
ได้สร้างความเป็นนักวิทยาศาสตร์น้อย ที่ติดตัว แก่ เด็กๆ ไม่ว่าเด็กๆ จะพบเห็นปรากฎการณ์ ใด เขาจะพยายามคิดและหาเหตุผล เชิงวิทยาศาสตร์มาอธิบายเสมอ


